Last updated: 9 มิ.ย. 2565 | 1651 จำนวนผู้เข้าชม |
อาการนิ้วล๊อค หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Trigger finger เกิดจากการที่ปลอกเอ็นนิ้วมือมีการอักเสบหรือตีบแคบลง ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของเอ็นนิ้วมือติดขัด หรือไม่สามารถเหยียดนิ้วออกได้
กลุ่มเสี่ยงต่ออาการนิ้วล๊อค
1.ผู้สูงอายุ สืบเนื่องมาจากการใช้งานที่สะสมมาเป็นระยะเวลานานๆ ร่วมกับความเสื่อมสภาพของเอ็นข้อนิ้วตามวัย
2.เกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
3.มักเกิดกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
4.ใช้งานนิ้วมือหนักๆ เช่น เล่นมือถือ, บิดผ้าแห้งแรงๆ หรืองานที่ต้องใช้นิ้วมือมากๆ
ระยะอาการของนิ้วล๊อค มีทั้งหมด 4 ระยะ
ระยะที่ 1 ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการปวด หรือเจ็บบริเวณฝ่ามือหรือข้อนิ้วมือ แต่ยังเคลื่อนไหวได้ดีอยู่
ระยะที่ 2 ปลอกเอ็นจะตีบแคบลง การเคลื่อนไหวข้อนิ้วมือจะลดลงหรือยากขึ้น เวลางอนิ้วมือจะสะดุด แต่ยังคงงอหรือเหยียดนิ้วมือได้อยู่
ระยะที่ 3 ระยะนี้จะกำมือได้แต่มีอาการค้าง เหยียดนิ้วมือไม่ค่อยออก ต้องใช้นิ้วมืออีกข้างมาคอยจับเหยียดให้ออก
ระยะที่ 4 ปลอกเอ็นจะตีบแคบมาก ดังนั้นเวลากำมือนิ้วจะกำไม่ลงอย่างรุนแรง
การรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด
เทคนิคการรักษาของสมพรคลินิก
1. ทางคลินิกจะประเมินก่อนว่าผู้ป่วยนิ้วล๊อค อยู่ในระยะใด
2. หากอยู่ในระยะ 1 -2 โดยมีอาการปวด จะใช้กระแสไฟฟ้าชนิดลดปวด (TENS) และการใช้ผลของความร้อนลึกด้วยคลื่นอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound therapy) เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของปลอกเส้นเอ็นตามข้อนิ้วมือ
3. หากอยู่ในระยะของการเริ่มติด หรือติดมากแต่ยังไม่ได้ทรมานมากเกินไป (ระยะ 3-4) นอกจากการรักษาข้างต้นแล้ว เราจะใช้เทคนิคการรักษาทางหัตบำบัด อาทิเช่น Myofascial release และ การขยับ ดัด ดึง ข้อต่อ เข้ามาทำการรักษาด้วย
ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก
นพ.สำเริง เนติ (ศัลยแพทย์ระบบกระดูกและข้อ รพ.บำรุงราษฎร์)
2 มิ.ย. 2563
28 พ.ค. 2563
8 ก.ค. 2563
29 พ.ค. 2563